วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

ภาษาไทยอักษรกลาง สูง ต่ำ

การจำอักษรสูง กลาง ต่ำ
อักษรสูง
1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห
( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )

อักษรกลาง
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ
( ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ )

อักษรต่ำ
3.อักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น
- อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ
(พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ )
- อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล
( งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก )
***** เมื่อผันให้ครบ 5 เสียงต้องผันร่วมกับ ห *****

ไตรยางศ์และการผันอักษร
ไตรยางค์และการผันอักษรไตรยางศ์ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์
จัดแบ่งตัวพยัญชนะไทยออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า “ไตรยางศ์” ได้แก่ หมู่ที่ 1 เรียกว่า
อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข (ข.ขวด) ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ หหมู่ที่ 2 เรียกว่า
อักษรกลาง มี 9 ตัว คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ หมู่ที่ 3 เรียกว่า
อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ ค ค(ค.คน) ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
(ข.ขวด มีหัวหยักเช่นเดียวกับ ซ ค. คน ส่วนบนหยักเช่นเดียวกับ ต ปัจจุบันไม่มีที่ใช้ในการเขียนแล้ว)
การผันอักษร การผันอักษร คือการออกเสียงพยางค์ที่ประสมด้วยพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ซึ่ง
เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า ก่อนผันอักษรต้องเข้าใจเรื่องความหมายของคำต่อไปนี้ก่อน
คือ คำเป็น คำตาย คำเป็น หมายถึง
1. พยางค์ที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา เช่น มา รู โต

2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น นาง กิน ปม นาย หิว
ข้อสังเกต เสียงสระของคำเป็นใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว คำตาย หมายถึง
1. พยางค์ที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา เช่น ปะ ติ ฉุ 2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ เช่น นก มัด รับ ข้อสังเกต
เสียงสระของคำตายใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว 2. พื้นเสียง หมายถึงพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ต่อไปนี้จะเป็นการ
ผันอักษรทีละหมู่ อักษรกลาง พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรกลางทั้ง 9 ตัว (ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ ) เมื่อนำมาประสมกับสระเดียวกัน
และใช้วรรณยุกต์ รูปเดียวกันจะออกเสียงวรรณยุกต์ได้ตรงกัน เช่น ก่า จ่า ด่า ต่า บ่า ป่า อ่า อักษรกลางคำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา ดง จน ปม เตย กลองผันด้วย ไม้เอก เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ด่ง จ่น ป่ม เต่ย กล่อง ผันด้วย ไม้โท เป็นเสียงโท
เช่น ก้า ด้ง จ้น ป้ม เต้ย กล้องผันด้วย ไม้ตรี เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ด๊ง จ๊น ป๊ม เต๊ย กล๊อง ผันด้วย ไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา
เช่น ก๋า ด๋ง จ๋น ป๋ม เต๋ย กล๋อง จะเห็นว่าอักษรกลางคำเป็น ผันได้ครบ 5 เสียง และเสียงกับรูปวรรณยุกต์ตรงกัน
อักษรกลางคำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ปะ กาก จด โบก ผันด้วย ไม้โท เป็นเสียงโท เช่น ป้ะ ก้าก
จ้ด โบ้ก ผันด้วย ไม้ตรี เป็นเสียงตรี เช่น ป๊ะ ก๊าก จ๊ด โบ๊ก ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวาเช่น ป๋ะ ก๋าก จ๋ด โบ๋ก



วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

เสริมความเฮงรับปีฉลู 2552

สิ่งมงคลคู่ตรุษจีน เสริมความเฮงรับปีฉลู
ใกล้เวลากล่าวคำอวยพรเสริมสิริมงคล "ซิน เจีย ยู่ อี่ ซิน นี้ ฮวด ไช้" ต้อนรับเทศกาลตรุษจีนกันอีกครั้ง ตรุษจีนถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ชองชาวจีนทั่วโลก ที่ต้องมีพิธี "ไหว้เจ้า" เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตที่ก้าว
สู่ปีใหม่แล้วนอกจากจะเห็นบรรดาเครื่องเซ่นไหว้และข้าวปลาอาหารที่มีความหมายสื่อถึงความเป็นมงคล
แฝงไว้แล้วนั้น วันสำคัญนี้ อีกสิ่งที่บอกให้รู้ถึงเทศกาลสำคัญนี้ ที่ขาดไม่ได้ "การเปลี่ยนของใหม่" ทั้งข้าวของเครื่องใช้ เครื่องประดับ เสริมสิริมงคล อาทิ ของใช้เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าของใช้ใหม่ๆ ด้วยโทนสีแดง หรือสีทอง จึงถือเป็นสีแห่งความเป็นมงคล เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้ตนพบแต่ความโชคดี จะส่งผลดีตลอดทั้งปีสิ่งของมงคล เป็นเครื่องห้อยเครื่องแขวนประดับประดิดประดอย สิ่งมงคลที่ต้องซื้อหามาเป็น
เจ้าของในเทศกาลนี้ เช่น เครื่องรางหยก คนจีนเชื่อว่าเป็นหินพิเศษที่สามารถปกป้องขจัดสิ่งอัปมงคล และยังเชื่อด้วยว่าเมื่อมีหยกอยู่ในบ้าน หรือสวมใส่หยกติดตัว หยกจะช่วยรับเคราะห์ร้ายต่างๆ แทน และยังทำให้เกิดมงคลขึ้นอีกด้วย ฮก ลก ซิ่ว ชาวจีนจะนับถือ ฮก ลก ซิ่ว เป็นเทพ 3 องค์ ซึ่งเชื่อกันว่าเทพ 3 องค์นี้สามารถประสิทธิ์ประสาทความมั่งคั่ง ความสมบูรณ์และความยั่งยืน รูปง่วนป้อทอง หรือทองแท่ง สัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง กิเลน (ฉีหลิน) สัญลักษณ์ของวาสนา ความมั่นคงและป้องกันสิ่งอัปมงคลกิเลน เป็นสัตว์มงคลตามตำนาน บางครั้งชาวจีนเรียกว่า "ม้ามังกร" เหมือนเรื่องพระอภัยมณี